เฉลยข้อสอบO-net ( วิทยาศาสตร์ วิชา ชีววิทยา) ปีการศึกษา 2563 สอบมีนาคม 2564

 
ดาวโหลดข้อสอบ O-net ปีการศึกษา 2563 สอบมีนาคม 2564

ข้อ 1 ( 2 )

ข้อ 2 ( 3 )

ข้อ 3 ( 2 )

ข้อ 4 ( 4 )

ข้อ 5 ( 4 )

ข้อ 6 ( 3 )

ข้อ 7 ( 2 )

ข้อ 8 ( 3 )

ข้อ 9 ( 5 )

ข้อ 10 ( 1 )


 

 

 

 

 

 

 

 

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

ข้อสอบ

ข้อ 6) นักเรียนคนหนึ่งศึกษาสารอินทรีย์ในพืช A B และ C โดยบดพืชแต่ละชนิดให้ละเอียดผสมน้ำ แล้วนำไปคั้นและกรองเพื่อนำของเหลวที่ได้ไปทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ ได้ผลการทดสอบดังตาราง

พืช

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ

ทดสอบด้วย สารละลายไอโอดีน

ทดสอบด้วยสารละลายไบยูเร็ต

ถูบนกระดาษขาว

A

สารละลายสีน้ำเงินแกมม่วง

สารละลายสีฟ้า

กระดาษไม่โปร่งแสง

B

สารละลายสีน้ำตาล

สารละลายสีฟ้า

กระดาษโปร่งแสงมากขึ้น

C

สารละลายสีน้ำตาล

สารละลายสีม่วง

กระดาษไม่โปร่งแสง

จากผลการทดสอบ ข้อใดระบุแนวทางการนำพืชมาใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง
   1. พืช A สามารถนำมาสกัดได้สารที่นำมาผลิตเป็นน้ำมันได้
   2. พืช B สามารถนำมาทำผงแป้งประกอบอาหารได้
   3. พืช C สามารถนำมาสกัดได้สารที่นำมาผลิตเป็นอาหารเสริมโปรตีนได้
   4. พืช A และ B สามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชได้
   5. พืช B และ C สามารถนำมารับประทานทดแทนข้าวได้

 

 

เฉลยคำตอบพร้อมคำอธิบาย

คำตอบ (3) พืช C สามารถนำมาสกัดได้สารที่นำมาผลิตเป็นอาหารเสริมโปรตีนได้

เหตุผล

     เหตุผล 

      ๐ การทดสอบสารด้วยสารละลายไอโอดีน :: สารละลายไอโอดีนมีสีน้ำตาลเหลือง ใช้ทดสอบแป้ง ทดสอบโดยการใช้หลอดหยด หยดสารละลายไอโอดีน ลงไป แล้วน้ำแป้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแกมม่วง

      ๐ การทดสอบสารด้วยสารละลายไบยูเร็ต :: สารละลายไบยูเร็ตเป็นสารละลายผสม ระหว่าง คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต (Copper (II) sulphate , โพแทสเซียมทาร์เทรต (Potassium sodium tartrate) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) สีของสารละลายไบยูเร็ต เป็นสี ฟ้า ซึ่งเป็นสีจากสารละลาย คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต
สารละลายไบยูเร็ต ใช้ทดสอบพันธะเพบไทด์ ซึ่งเป็นพันธะในโมเลกุลของโปรตีน หากสารที่นำมาทดสอบเป็นโปรตีนที่มีพันธะเพปไทด์จะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง ความเข้มของสีแสดงถึงความถี่ของพันธะ อย่างไรก็ตามสารละลายไบยูเร็ตไม่สามารถใช้ทดสอบกรดอะมิโนได้ เนื่องจากในโมเลกุลไม่มีพันธะเพปไทด์

วิแคราะห์พืชในตัวเลือก
พืช A  
:: ทดสอบด้วย สารละลายไอโอดีน==> เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแกมม่วง ==> แสดงว่ามีแป้งในพืช A

:: ทดสอบด้วยสารละลายไบยูเร็ต  ==> สารละลายสีฟ้า==> แสดงว่าไม่เปลี่ยนสีเพราะสีฟ้าเป็นสีของสารละลายไบยูเร็ต แสดงว่าไม่มีพันธะเพปไทด์
:: กระดาษไม่โปร่งแสงแสดงว่ามีตะกอน


พืช B
:: ทดสอบด้วย สารละลายไอโอดีน==> สารละลายสีน้ำตาล ==> ไม่เปลี่ยนสีแสดงว่าไม่มีแป้ง
:: ทดสอบด้วยสารละลายไบยูเร็ต ==> สารละลายสีฟ้า==> แสดงว่าไม่เปลี่ยนสีเพราะสีฟ้าเป็นสีของสารละลายไบยูเร็ต แสดงว่าไม่มีพันธะเพปไทด์
:: กระดาษโปร่งแสงมากขึ้นแสดงว่าไม่มีตะกอน (อาจเป็นสารกลุ่มลิพิด)

 

พืช C
:: ทดสอบด้วย สารละลายไอโอดีน
==> สารละลายสีน้ำตาล ==> ไม่เปลี่ยนสีแสดงว่าไม่มีแป้ง
:: ทดสอบด้วยสารละลายไบยูเร็ต  ==> สารละลายสีม่วง ==> แสดงว่ามีพันธะเพปไทด์ในพืช C ดังนั้นพืช C มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ
:: กระดาษไม่โปรงแสงแสดงว่ามีตะกอน

       จากการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อที่ระบุแนวทางการนำพืชมาใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง คือ
ตัวเลือกที่ (3) พืช C สามารถนำมาสกัดได้สารที่นำมาผลิตเป็นอาหารเสริมโปรตีนได้

 

 
 
 

เลือกข้อถัดไปเพื่อเข้าศึกษา

 

[ ข้อ 1 ] / [ ข้อ 2 ] / [ ข้อ 3 ] / [ ข้อ 4 ]/ [ ข้อ 5 ]/ [ ข้อ 6 ]/ [ ข้อ 7 ]/ [ ข้อ 8 ]/

 

[ ข้อ 9 ]/ [ ข้อ 10 ]

 
 
 
 

 

 


กลับหน้าหลัก

พัฒนาโดย ครูนันทนา สำเภา
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

ช่องทางติดตามผลงงานทาง Youtube ::